ช่วงนี้หลายบริษัท เริ่มหันมาปรับรูปแบบการทำงานเป็นแบบ Hybrid Working กันมากขึ้น ซึ่งเป็นรูปแบบการทำงานที่ผสมผสานให้พนักงานสามารถเลือกเข้าออฟฟิศ หรือทำงานที่บ้านสลับกันไป ตามความเหมาะสมของแต่ละองค์กร รูปแบบการทำงานแบบใหม่นี้ถือเป็นเทรนที่ให้ความสนใจกันอย่างแพร่หลายทั่วโลก ไม่ว่าจะบริษัทใหญ่ ๆ hybrid working ในไทย รวมไปถึงบริษัท Start-Up ก็ให้เริ่มที่จะหันมาใช้รูปแบบการทำงานแบบใหม่นี้ เพื่อให้ตอบโจทย์กับการเปลี่ยนแปลงของยุคสมัยมากขึ้น ซึ่งบทความฉบับนี้จะพาทุกคนมารู้จักกันว่า ลักษณ์หรือสไตล์การทำงาน Hybrid working คือ แบบไหน แล้วhybrid working ข้อดี ข้อเสีย ที่ต้องรู้ มีอะไรบ้าง 


เลือกซื้ออุปกรณ์ Gadget


Hybrid working คือ อะไร 



Hybrid working คือ รูปแบบการทำงานที่ผสมระหว่าง in-person และ remote work เข้าด้วยกัน ซึ่งการทำงานในรูปแบบนี้ไม่จำเป็นต้องเข้าออฟฟิศทุกวัน แต่ก็ยังสามารถทำงานได้ทุกวันเหมือนเดิม Hybrid working เริ่มได้รับความนิยมมากขึ้น นับตั้งแต่ช่วงเกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 หลาย ๆ บริษัทนำรูปแบบการทำงานนี้เข้ามาปรับใช้ เพื่อช่วยลดและป้องกันการแพร่ระบาด ช่วยให้พนักงานสามารถทำงานได้แม้จะอยู่ที่บ้าน และสลับมาเข้าออฟฟิศในวันที่จำเป็นเท่านั้น 


ซึ่งถึงแม้ว่าในปัจจุบันสถานการณ์แพร่ระบาดนี้ จะกลับมาเป็นสถานการณ์ปกติแล้ว แต่อิทธิพลจากรูปแบบการทำงานในช่วงนั้น ทำให้เราได้เห็นถึง ความสามารถ และ ประสิทธิภาพการทำงานอีกทั้งรูปแบบการทำงานที่ยืดหยุ่นสามารถช่วยให้พนักงานมีความสุขกับการทำงานได้มากขึ้น Hybrid working จึงกลายมาเป็นรูปแบบการทำงานที่ได้รับความนิยมอย่างมากในยุคนี้


hybrid working ข้อดี ข้อเสีย


ถึงแม้ว่า Hybrid working คือรูปแบบการทำงานที่ได้รับความนิยมอย่างมาก และเป็นที่ชื่นชอบของเหล่าพนักงานออฟฟิศ แต่ไม่ว่าอย่างไรก็ตามรูปแบบการทำงานนี้ ก็ยังมีทั้งข้อดีและข้อเสียอยู่เหมือนกัน 



ข้อดีของการทำงานแบบ Hybrid working


มีความยืดหยุ่นในการทำงาน

หลายคนคงถูกใจรูปแบบการทำงานแบบนี้ ด้วยเหตุผลว่า รูปแบบการทำงานช่วยให้เรามีความยืดหยุ่นในการทำงานมากกว่าการที่เข้าไปทำงานในออฟฟิศเพียงอย่างเดียว ซึ่งปัจจุบันเอง hybrid working ในไทย ก็เริ่มมีการใช้เป็นรูปแบบการทำงานในหลายบริษัทมากขึ้นเรื่อย ๆ 


ลดค่าใช้จ่ายของบริษัท

Hybrid working คือ การทำงานที่พนักงานไม่จำเป็นต้องเข้าออฟฟิศ ดังนั้นค่าใช้จ่ายส่วนกลางที่บริษัทต้องจ่ายก็จะลดลงตามไปด้วย เช่น ค่าน้ำค่าไฟ หรือค่าขนม เครื่องดื่ม ส่วนกลางต่างๆ ของแต่ละบริษัท


ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายให้พนักงาน 

เมื่อเราไม่ต้องเดินทางไปออฟฟิศแล้ว เราก็สามารถลดค่าใช้จ่ายในการเดินทางในแต่ละวันลงได้ แถมบางคนอาจจะสามารถลดค่าอาหารในแต่ละวันได้อีกด้วย และที่สำคัญ นอกจากจะลดค่าใช้จ่ายได้แล้วเรายังไม่ต้องเผชิญกับปัญหารถติดบนถนน ในช่วงเช้าหรือหลังเลิกงาน ให้หงุดหงิดอีกด้วย


Work-life balance 

ยุคนี้สมัยนี้ ใคร ๆ ก็ตามหาการทำงานแบบ Work-life Balance กันทั้งนั้น ซึ่งรูปแบบการทำงานแบบ Hybrid Working Model ถือเป็นวิธีการทำงานที่ตอบโจทย์กับยุคสมัยอย่างมาก เพราะพนักงานเองสามารถออกแบบวางแผนการทำงานได้เอง ไม่จำเจอยู่กับการนั่งทำงานในออฟฟิศเพียงอย่างเดียว แต่สามารถวางแผนการทำงานควบคู่ไปกับการใช้ชีวิต ช่วยเพิ่มความสุขในการทำงานให้มากขึ้น แถมยังสามารถเพิ่มประสิทธิภาพของงานได้อีกด้วย 


ข้อเสียของการทำงานแบบ Hybrid 


ต้นทุนของซอฟต์แวร์ในการทำงานสูงขึ้น 

ถึงแม้ว่า Hybrid Working จะสามารถช่วยลดต้นทุนขอบริษัทในบางเรื่องได้ แต่แน่นอนว่า เพื่อให้การทำงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และมีช่องทางในการติดต่อสื่อสาร รวมทั้งมีพื้นที่ในการเก็บข้อมูลที่มากพอ ดังนั้นบริษัทจำเป็นจะต้องลงทุนกับซอฟต์แวร์ที่มีประสิทธิภาพ เพื่อให้พนักงานยังสามารถติดต่อสื่อสารระหว่างกับภายในทีม และ มีพื้นที่ในการแชร์ข้อมูลหรือไอเดีย เพื่อให้การทำงานนั้นยังคงประสิทธิภาพ และเป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ 


การเรียนรู้งานของพนักงานใหม่อาจจะไม่ดี 

เมื่อมีการรับพนักงานใหม่เข้ามา แน่นอนว่าจำเป็นจะต้องมีการสอนงานส่วนต่าง ๆ ในบริษัท ซึ่งการทำงานแบบ Hybrid นั้น อาจจะทำให้ประสิทธิภาพในการเรียนรู้งานช่วงแรก ลดลงกว่าที่ควรจะเป็น ซึ่งปัญหานี้สามารถแก้ไขได้โดยการ เตรียมช่องทางการสื่อสาร หรือการทำ Knowledge Management อย่างเป็นระบบ เพื่อให้การเรียนรู้งานช่วงแรกนั้นมีประสิทธิภาพ และช่วยให้พนักงานใหม่เข้าใจการทำงานได้ดีขึ้น


ความสัมพันธ์ระหว่างคนในทีมลดลง 

สำหรับการทำงานนั้น เรื่องของการสื่อสารระหว่างกัน ถือเป็นเรื่องทำสำคัญที่ทำให้ทีมสามารถเติบโตและบรรลุเป้าหมายได้ แต่การทำงานแบบ Hybrid working นั้น อาจจะทำให้เกิดกำแพงการสื่อสารระหว่างกันได้ ซึ่งอาจจะส่งผลต่อการคุณภาพการทำงานที่น้อยลงตามมา

ดังนั้น เพื่อแก้ปัญหากำแพงการสื่อสารนี้ อาจจะต้องมีการจัด Session เพื่อให้ทุกคนสามารถพูดคุยกันมากขึ้น เช่นการใช้แอปพลิเคชันมาเพื่อแชร์การทำงาน หรือระดมไอเดียใหม่ ๆ ช่วยให้ทุกคนได้ออกความคิดเห็น และได้พูดคุยกันมากขึ้น หรืออาจจะจัดกิจกรรมสันทนาการร่วมกันบ้างเป็นบางครั้ง เพื่อกระชับความสัมพันธ์ของคนในทีมมากยิ่งขึ้น 


Hybrid Working ตัวอย่าง บริษัททั่วโลก


อย่างที่กล่าวไปข้างต้นว่า รูปแบบการทำงานแบบนี้ ได้รับความนิยมทั้งบริษัทดัง ๆ ระดับโลก หรือบริษัท Start Up ใหม่ๆ ดังนั้น วันนี้เราจะมาดูกันว่า Hybrid Working ตัวอย่าง บริษัทแต่ละที่เขามีแนวทางอย่างไรกันบ้าง



Microsoft 

บริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง ไมโครซอฟต์เองก็ได้มีการนำเอารูปแบบการทำงานนี้มาปรับใช้ ซึ่ง Hybrid Working Model คือ พนักงานสามารถ WFH ได้ 50% ของเวลาทั้งหมด ผลการตอบรับพบว่า พนักงานกว่า 70% ของบริษัท ให้การตอบรับเป็นอย่างดี และบริษัทเองก็อำนวยความสะดวกเพื่อให้ช่วง WFH พนักงานสามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ


Google 

สำหรับ Google เอง ก็ได้ปรับการทำงานแบบ 3/2 ใน 1 สัปดาห์ นั้นหมายถึงว่า พนักงานทำงาน On-site 3 วัน และ WFH อีก 2 วัน ช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นในการทำงานของพนักงานมากขึ้นอีกด้วย 



สำหรับการทำงานแบบ Hybrid working ก็ถือเป็นรูปแบบการทำงานแนวใหม่ที่ตอบโจทย์กับยุคสมัยในขณะนี้อย่างมาก เพราะนอกจากจะเพิ่มความยืดหยุ่น ในการทำงานให้กับพนักงานแล้ว ยังช่วยบาลานซ์การทำงาน และการใช้ชีวิตให้สมดุลกันได้ ส่งผลต่อความสุขในการทำงานได้อีกด้วย 


และถ้าใครกำลังทำงานแบบ Hybrid working อยู่ เรามีอีก 1 ตัวช่วยที่ช่วยให้คุณสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น นั่นก็คือ Adjust table โต๊ะทำงานปรับระดับได้ ตัวช่วยในการทำงานเพื่อสุขภาพ ที่สามารถนั่งหรือยืนได้ ปรับระดับได้ตามความสูงและความต้องการของแต่ละคน ช่วยลดปัญหาการปวดหลัง จากการนั่งเป็นเวลานาน มาพร้อม ฟังก์ชั่น Anti-Collision เมื่อโต๊ะชนสิ่งกีดขวางระหว่างปรับขึ้น-ลง ขาโต๊ะจะลดต่ำลง / ยกขึ้นเล็กน้อยโดยอัตโนมัติ เพื่อความปลอดภัย หากสนใจสามารถสั่งซื้อได้ที่ มีให้เลือกด้วยกัน 3 สี ในราคา 17,570 บาท

แชร์ :