ฤดูฝนอาจเป็นฤดูที่ใครหลายคนรอคอย เพราะสายฝนเย็นฉ่ำมาช่วยคลายความร้อนจากอากาศร้อนจัด แต่หากฝนตกช่วงเวลาที่ต้องเดินทางหรือวันทำงานอาจจะกลายเป็นสถานการณ์ที่ไม่ถูกใจเท่าไรนัก เพราะฉะนั้นเราจึงต้องหันมาใช้ตัวช่วยดี ๆ อย่างชุดกันฝนที่ช่วยปกป้องเสื้อผ้าและร่างกายจากความเปียกชื้น แต่จะรู้ได้อย่างไรว่าชุดกันฝนที่เลือกมาเป็นชุดกันฝนอย่างดี? ลองมาทำความรู้จักกับชุดกันฝนแต่ละประเภทและแนวทางว่าควรเลือกชุดกันฝนแบบไหนดีให้เหมาะสมกับการใช้งานของเรามากที่สุดกันดีกว่า


ความเป็นมาของชุดกันฝน


ชุดกันฝนหรือเสื้อกันฝน (Raincoat) เป็นเสื้อผ้าที่ออกแบบมาเพื่อป้องกันไม่ให้ผู้สวมใส่เปียกน้ำฝน อาจเป็นชุดแยกชิ้นระหว่างเสื้อแจ็กเก็ตกันน้ำและกางเกง หรืออาจเป็นเสื้อโค้ตกันน้ำที่สามารถสวมใส่แบบเต็มตัวก็ได้ เสื้อกันฝนมักผลิตจากวัสดุกันน้ำ เช่น ชุดกันฝนไวนิล ชุดกันฝน pvc หรือชุดกันฝนไนลอน ส่วนใหญ่ผู้ที่สวมชุดกันฝนเป็นประจำมักเป็นกลุ่มคนที่ต้องทำงานกลางแจ้ง นักเดินป่า รวมถึงคนทั่วไปที่ต้องเดินทางในสภาพอากาศที่มีฝนตก เพื่อให้รู้สึกแห้งสบายในสภาพอากาศที่เปียกชื้นนั่นเอง 


สำหรับประวัติศาสตร์ความเป็นมาของชุดกันฝนนั้นเริ่มมาจากแนวคิดของ ชาร์ลส์ แมกอินทอช (Charles Macintosh) ผู้เป็นนักเคมีชาวสกอตแลนด์ แมกอินทอชทดลองผลิตผ้าไม่เปียกน้ำจากผ้าฝ้ายและน้ำยาที่ได้จากการกลั่นน้ำมันดิบ (แนฟทา - Naphtha) จนได้ผ้าที่มีคุณสมบัติกันน้ำ ไม่เปียก ไม่รั่วซึม และไม่ซับน้ำ นอกจากนี้เนื้อผ้ายังมีความยืดหยุ่นและแข็งแรงกว่าเนื้อผ้าทั่วไปด้วย สิ่งที่ได้รับทำให้แมกอินทอชจดสิทธิบัตรผ้ากันน้ำในปี 1824 และเริ่มผลิตออกมาเป็นเสื้อกันฝน เป็นชุดกันฝนแบบหนาแบรนด์ Mackintosh


ในช่วงแรกชุดที่ผลิตออกมายังไม่ใช่ชุดกันฝนอย่างดีเนื่องจากยังมีน้ำรั่วซึมเข้าไปในชุดผ่านรอยตะเข็บได้ นอกจากนี้สารแนฟทาจะแข็งตัวเมื่ออากาศเย็นและจะละลายเมื่อเจออากาศร้อน อีกทั้งยังเจอมรสุมถูกโจมตีว่าลอกเลียนวิธีการทำผ้ากันน้ำจาก เจมส์ ไซมส์ (James Symes) ศัลยแพทย์ชาวสกอตแลนด์อีกด้วย


อย่างไรก็ตามแมกอินทอชได้พบกับวิศวกรชาวอังกฤษชื่อ โทมัส แฮนค็อก (Thomas Hancock) และได้รับคำแนะนำให้ใช้ยางกัลป์วาไนซ์มาปรับปรุงผลิตภัณฑ์ของเขา จนได้เสื้อกันฝนที่คุณภาพดีกว่าเดิมและจดสิทธิบัตรสิ่งประดิษฐ์ใหม่อีกครั้งในปี 1843


ชุดกันฝนถูกพัฒนาต่อมาเรื่อย ๆ ปัจจุบันชุดกันฝนมีน้ำหนักเบาขึ้น สามารถใช้งานได้ดีทั้งในการทำงานและในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นชุดกันฝนแบบใสซึ่งเน้นใช้งานครั้งเดียว ชุดกันฝนผู้หญิงที่มีดีไซน์สวยงามทันสมัย หรือชุดกันฝนแบบหนาสำหรับใช้ทำงานกลางแจ้ง ไปจนถึงชุดกันฝน มอเตอร์ไซค์สำหรับผู้ที่ต้องขับขี่มอเตอร์ไซค์ฝ่าฝน เป็นต้น


ชุดกันฝนมีกี่ประเภท เลือกชุดกันฝนแบบไหนดี


ก่อนที่เราจะรู้ว่าควรเลือกชุดกันฝนแบบไหนดี เราต้องรู้จักชุดกันฝนแต่ละประเภทซะก่อน


ชุดกันฝนใช้แล้วทิ้ง:

เป็นชุดกันฝนที่ออกแบบมาสำหรับการใช้งานครั้งเดียว หาซื้อได้ทั่วไปตามร้านสะดวกซื้อ ราคาไม่แพง ผลิตจากพลาสติกเนื้อบาง ระบายอากาศไม่ดี ฉีกขาดง่าย เหมาะสำหรับการใช้งานในเวลาฉุกเฉินเท่านั้น


ชุดกันฝนแบบหนา:

เป็นชุดกันฝนที่ออกแบบมาเพื่อเน้นความทนทาน สามารถสวมใส่ทำกิจกรรมกลางแจ้งได้ เช่น เล่นกีฬา ปั่นจักรยาน ชุดกันฝน มอเตอร์ไซค์ หรือชุดกันฝนสีส้มสำหรับใช้ในไซต์งานก่อสร้างและงานจราจร เป็นต้น ชุดกันฝนแบบนี้ส่วนใหญ่เป็นชุดแบบเต็มตัว ผ้าหนา ทนทาน ใส่ซ้ำได้บ่อย และป้องกันร่างกายจากน้ำฝนได้เป็นอย่างดี


เสื้อกันฝนทหาร:

ชุดกันฝนทหารส่วนใหญ่จะคุ้นหน้าคุ้นตากันดีในรูปแบบของเทรนช์โค้ตลายพราง แต่ปัจจุบันมีทั้งแบบค้างคาวและแบบติดกระดุมหน้าทำให้สามารถใช้งานได้หลากหลายขึ้น จุดเด่นคือมีน้ำหนักเบา ทนทาน และคล่องตัว


ชุดกันฝนอย่างดี:

ชุดกันฝนประเภทนี้อาจเป็นชุดแบบเสื้อและกางเกงหรือแบบเต็มตัวก็ได้ ผลิตจากวัสดุเนื้อดี แข็งแรง ทนทาน ใส่ซ้ำได้ เหมาะสำหรับการใช้งานทั้งในชีวิตประจำวันและการทำงาน เป็นชุดกันฝนแบบหนาที่สามารถเติมแถบสะท้อนแสงหรือออกแบบสีสันให้สะดุดตาเพื่อความปลอดภัยได้


เลือกชุดกันฝนแบบไหนดี ตอบโจทย์คุ้มค่าที่สุด


เลือกชุดกันฝนแบบไหนดี ? รวมเทคนิค How To สำหรับการเลือกชุดกันฝนที่ดี และเหมาะกับการใช้งานมากที่สุด


1. พิจารณาวัสดุที่นำมาผลิต

สิ่งสำคัญอันดับแรกของการเลือกชุดกันฝนแบบไหนดีก็คือ พิจารณาจากวัสดุที่นำมาผลิต ต้องมาจากวัสดุกันน้ำ เช่น โพลีเอสเตอร์(Polyester) หรือไนล่อน (Nylon) หรือชุดกันฝน pvc ซึ่งมีคุณสมบัติกันน้ำอยู่แล้ว แต่จะสามารถปกป้องเสื้อผ้าและผู้สวมใส่ได้ดีแค่ไหนก็ขึ้นอยู่กับกระบวนการผลิตด้วย


2. ระบายอากาศได้ดี

ถึงชุดกันฝนจะมีคุณสมบัติกันน้ำ แต่สิ่งที่ต้องมีมาคู่กันเลยก็คือการระบายอากาศเพื่อป้องกันการเกิดเหงื่อจนทำให้เสียสุขอนามัยที่ดีระหว่างใช้งาน นอกจากนี้การระบายอากาศจะช่วยให้ผู้สวมใส่ไม่ร้อนเกินไปด้วย วิธีสังเกตชุดกันฝนที่ระบายอากาศได้ดีก็คือ เลือกจากค่า Water Vapor Transmission Rate หรือ WVTR ที่มีค่าตั้งแต่ 10,000 กรัมขึ้นไป


3. เลือกจากลักษณะการใช้งาน

การที่เราจะรู้ว่าควรเลือกชุดกันฝนแบบไหนดี สิ่งสำคัญอีกอย่างก็คือต้องรู้ว่าการใช้งานของเราคือการนำไปใช้ลักษณะใด หากเป็นคนที่ต้องทำงานกลางแจ้งก็ควรเลือกชุดกันฝนอย่างดี ผ้าหนา ระบายอากาศดี หรือหากต้องขับมอเตอร์ไซค์ก็ควรเลือกชุดกันฝน มอเตอร์ไซค์แบบ 2 ชิ้นเพื่อความคล่องตัว


4. สีสันและดีไซน์

สีสันและดีไซน์ก็เป็นอีกสิ่งที่ขาดไม่ได้ในการนำมาพิจารณาก่อนเลือกซื้อชุดกันฝน บางคนอาจชอบชุดกันฝนแบบใสที่มีความทันสมัยและสวยงามตามแฟชั่น แต่หากต้องการเน้นการใช้งานและความปลอดภัย ชุดกันฝนสีสดใส เห็นได้ชัดเจนในสภาพอากาศฝนตกก็ตอบโจทย์มากกว่า


ได้รู้ไปแล้วว่าควรชุดกันฝนแบบไหนดี และชุดกันฝนแบบไหนที่เหมาะกับการนำมาใช้งานของเรามากที่สุด คราวนี้หน้าฝนมาเยือนประเทศไทยเมื่อไร ก็ไม่ต้องกังวล ท้าทายสายฝนเย็นฉ่ำได้อย่างสบายใจแน่นอน! 


แชร์ :