หลังจากทำกิจกรรมหรือทำงานหนัก ติดต่อกันมาทั้งสัปดาห์ ใครรู้สึกว่าร่างกายล้าและอ่อนเพลีย มีอาการปวดเมื่อยตามตัว (แต่ต้องไม่มีไข้ หรือไม่มีอาการป่วยอื่น ๆ นะ ถ้ามีขอแนะนำให้ไปหาหมอจะดีกว่านะ) กำลังหาวิธีบรรเทาความเมื่อยล้าเหล่านั้นด้วยตัวเอง แบบไม่ต้องพึ่งหมอนวด หรือนักกายภาพบ้าง ? บทความนี้ ทรูช้อปปิ้ง รวมเคล็ดไม่ลับ วิธีแก้ปวดเมื่อย เพื่อช่วยฟื้นร่างและบรรเทาอาการปวด และ อุปกรณ์นวดแก้ปวดเมื่อย ให้คุณฟิตและพร้อม ตั้งแต่หัวจรดเท้า แถมปลอดภัย และทำเองได้ง่ายๆ ที่บ้าน ตามทรูช้อปปิ้งมาดูเลย!! 


เลือกซื้อสินค้าแก้ปวดเมื่อย ผลิตภัณฑ์บรรเทาปวด แก้ปวดเมื่อย



เช็กก่อน ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ เกิดจากสาเหตุอะไร



เชื่อว่าทั้งวัยรุ่น วัยทำงาน หรือชาวสูงวัย ต้องเคยพบเจออาการปวดเมื่อยกันมาแล้ว ซึ่งส่วนใหญ่มักเป็นอาการการปวดเมื่อย ที่มาจากการใช้กล้ามเนื้ออย่างหนักหรือต่อเนื่อง เช่น การนั่งหรือยืนทำงานนานๆ หรือผิดท่า การทำกิจกรรม ออกกำลังกายหรือการเล่นกีฬา โดยอาการปวดเมื่อยอาจเกิดขึ้นทันที หลังทำกิจกรรม หรือเกิดขึ้นหลังผ่านไปแล้ว 24-72 ชั่วโมง 


สำหรับอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ที่เราเจอในชีวิตประจำวัน จากกิจกรรมดังกล่าว มักหายเองได้ใน 1-5 วัน แต่อาการเหล่านั้นจะทำให้รู้สึกหงุดหงิด เคลื่อนไหวไม่คล่อง และทำอะไรได้แบบไม่ค่อยสบายตัว และถ้าปล่อยทิ้งไว้ ก็อาจเสี่ยงต่ออาการปวดเมื่อยเรื้อรัง ที่ส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันได้


หลายคนจึงมองหาวิธีการเบื้องต้น ในการบรรเทาความปวดเมื่อย โดยไม่อยากไปหาหมอ แต่ก่อนจะไปดู วิธีแก้ปวดเมื่อย มาเช็กกันซักหน่อยว่า อาการปวดเมื่อยที่คุณเจออยู่นั้น เป็นมีสาเหตุมาจากอะไร เพื่อจะได้หา วิธีแก้ปวดเมื่อย อย่างตรงจุดนะ 



ปวดเมื่อยจากการออกกำลังกาย 

อาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ จากการออกกำลังกายอย่างหนัก หรือติดต่อกันนานหลายวัน เล่นกีฬาที่เคลื่อนไหวและใช้กล้ามเนื้อเดิมซ้ำ ๆ อาจเกิดจากการไม่วอร์มอัพ คูลดาวน์ หรือออกกำลังกายผิดท่าอาจเพิ่มความเสี่ยงของอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อได้ 


ปวดเมื่อยจากการทำงานและกิจกรรมอื่น ๆ 

การทำงานหรือทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันตามปกติของเรา ก็เป็นสาเหตุที่สามารถทำรู้สึกปวดเมื่อยได้ ไม่ว่าจะเป็นการนั่งหรือยืนทำงานนาน ๆ การทำงานบ้าน หรือทำสวน โดยเฉพาะการลุกหรือนั่งผิดท่า นั่งหลังค่อม นั่งไขว่ห้าง นั่งเท้าคาง หรือนั่งยกไหล่ ก็ล้วนเป็นต้นเหตุของอาการปวดเมื่อยได้ 


ปวดเมื่อยจากอุบัติเหตุ ปัญหาสุขภาพ การบาดเจ็บ

ไม่ว่าจะเป็น การหกล้ม เดินชนหรือกระแทกกับสิ่งของต่าง ๆ การยกของหนัก อาจทำให้กล้ามเนื้อบาดเจ็บ อักเสบ ฉีกขาด หรือฟกช้ำได้ นอกจากสาเหตุทั่วไปเหล่านี้แล้ว ปัญหาสุขภาพบางอย่าง ก็มีส่วนเพิ่มความเสี่ยงของอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อได้เช่นกัน 


5 วิธีแก้และบรรเทาการปวดเมื่อยด้วยตัวเอง


เมื่อเรารู้สาเหตุของอาการปวดเมื่อยแล้ว วิธีแก้ปวดเมื่อย ในเบื้องต้นก็สามารถทำได้ไม่ยาก โดยทรูช้อปปิ้งได้สืบค้นและรวบรวมข้อมูล อิงจากแนะนำจากคุณหมอผู้เชี่ยวชาญจากหลายแห่ง ได้บอกวิธีการแก้ปวดเมื่อย ที่เราสามารถแก้เองได้ง่ายๆ ที่บ้าน ดังนี้


1 พักกล้ามเนื้อจากการใช้งาน 

หากคุณมีอาการปวดเมื่อยจากการทำงาน เป็นคนทำงานที่ต้องนั่ง ยืน เคลื่อนไหว หรืออยู่ในอิริยาบถเดิมซ้ำๆ จนรู้สึกปวด วิธีแก้ปวดเมื่อย และป้องกันอาการปวด แนะนำว่า ให้หมั่นเปลี่ยนอิริยาบถ ยืดเส้นยืดสายเป็นประจำ เพื่อผ่อนคลายกล้ามเนื้อ หรือพักกล้ามเนื้อจากการทำกิจกรรมนั้นๆ ทุกชั่วโมง รวมไปถึงลองฝึกท่านั่งและยืนที่ถูกต้อง เพื่อลดความเสี่ยงของอาการปวดเมื่อย ในทางกลับกัน หากคุณฝืนใช้กล้ามเนื้ออย่างหนักต่อไป ไ่ม่มีหยุดพัก อาจทำให้อาการปวดบวมรุนแรงขึ้น กล้ามเนื้อฉีกขาด และเกิดรอยฟกช้ำได้


ในกรณีที่คุณมีอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ จากการทำกิจกรรมหรือออกกำลังกาย เพื่อลดความเสี่ยงของอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อที่อาจเจอ เบื้องต้นผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่า ควรออกกำลังกายอย่างเหมาะสม ไม่หักโหมมากไป ควรทำการวอร์มอัพและคูลดาวน์เสมอ รวมไปถึงแบ่งวันออกกำลังกายและวันพักเพื่อให้กล้ามเนื้อได้ฟื้นฟู 


2 ผ่อนคลาย ยืดกล้ามเนื้อ 

หากคุณรู้สึกปวดเมื่อยจากการนั่งหรือยืนทำงานผิดท่า รวมไปถึงยืนหรือทำกิจกรรมใช้กล้ามเนื้อหนักๆ เป็นเวลานาน ให้ลองยืดกล้ามเนื้อ หรือทำท่ากายบริหารเบาๆ เพื่อเป็นการผ่อนคลายกล้ามเนื้อ ตามส่วนต่างๆ ที่คุณรู้สึกปวดเมื่อย เช่น หมุนข้อมือ นวดนิ้วมือ พักสายตามองไปทางอื่น นอนเอนหลัง ออกไปเดินเล่นเปลี่ยนอิริยาบถ เป็นต้น


และนอกจากวิธีกายบริหารดังกล่าวแล้ว หากสาเหตุของอาการปวดเมื่อยของคุณ มาจากกล้ามเนื้อตึงตัว การนวดบริเวณที่ปวดเมื่อยเบา ๆ อาจช่วยลดความตึงของกล้ามเนื้อได้ แต่ควรนวดอย่างระมัดระวัง ไม่ออกแรงบีบหรือกดมาก จนรู้สึกเจ็บ หรือนวดติดต่อกันเป็นเวลานาน เพราะอาจทำให้กล้ามเนื้ออักเสบได้ ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ เทคนิคผ่อนคลายกล้ามเนื้อ กรมสุขภาพจิต



3 ใช้น้ำแข็งประคบเย็น 

ในกรณีที่มีคุณมีอาการปวดเมื่อย หรือบาดเจ็บจากการออกกำลังกาย ทำกิจกรรมหรือเกิดอุบัติเหตุ และมีอาการปวดบวม ให้ใช้วิธีประคบเย็น เป็นวิธีแก้ปวดเมื่อย ที่สามารถทำได้ด้วยตัวเอง โดยใช้ถุงน้ำแข็ง Ice pack เลื่อนไปตามแนวกล้ามเนื้อที่ปวด คล้ายการนวด ใช้เวลา 5-10 นาที ความเย็นจากน้ำแข็งจะช่วยลดการอักเสบของกล้ามเนื้อได้ 


หรือหากไม่มีถุงน้ำแข็ง ก็สามารถใช้ผ้าชุบน้ำเย็นบิดหมาด ประคบบริเวณที่ปวด เป็นเวลา 15-20 นาทีต่อครั้ง ทุก ๆ 2–3 ชั่วโมง หรือใช้ผ้าห่อถุงน้ำแข็งหรือห่อขวดน้ำเย็นประคบแทนได้ แต่ห้ามใช้น้ำแข็งประคบที่ผิวโดยตรง เพราะจะทำให้ผิวหนังบาดเจ็บได้ ความเย็นจะลดการไหลเวียนเลือด บริเวณกล้ามเนื้อที่บาดเจ็บและอักเสบ จึงช่วยบรรเทาอาการปวดบวม



4 ใช้อุปกรณ์บรรเทาปวด

เช่น ผ้ารัดกล้ามเนื้อ พันบริเวณที่ปวดตามจุดต่างๆ เช่น หลัง เอว ข้อพับเข่า ศอก ข้อมือ ข้อเท้า เพื่อลดการไหลเวียนเลือด ที่เป็นสาเหตุของอาการปวดบวม โดยควรรัดกล้ามเนื้อให้กระชับ ในระดับที่พอดี ไม่แน่น และไม่ใส่ไว้นานเกินไป


รวมไปถึงบรรเทาปวด ด้วยการ "ยก" อวัยวะที่เราปวดหรือมีอาการบวม ให้อยู่สูงกว่าระดับหัวใจ เพื่อลดการไหลเวียนเลือด เป็นวิธีแก้ปวดเมื่อยที่ง่ายและปลอดภัย โดยใช้หมอนหนุนแขนหรือขาที่ปวด ขณะนอนตอนกลางคืน หรือใช้อวัยวะที่ปวด พาดไว้บริเวณที่สูงกว่า เพื่อลดการไหลเวียนเลือดและช่วยลดอาการปวดบวมได้ 


5 ยาทา ยานวด ยาทาน แก้ปวดเมื่อย

วิธีแก้ปวดเมื่อย ด้วยตัวเอง อีกหนึ่งวิธีที่ได้ผลดีและแก้ปวดได้ตรงจุด ก็คือ การใช้ยาทาบรรเทาปวด ที่มีหลากหลายขนาน ทั้งยานวดสมุนไพร ยาทาบรรเทาปวดแผนปัจจุบัน แบบร้อน แบบเย็น ซึ่งก่อนจะใช้นั้น ก็อย่าลืมอ่านฉลากข้อบ่งใช้ ให้ถูกและเหมาะสมกับอาการปวดของเราด้วย


และนอกจากยาทาแก้ปวดแล้ว ยาทานแก้ปวด ก็สามารถบรรเทาอาการปวดเมื่อยกล้ามได้เช่นกัน โดยส่วนใหญ่ที่ใช้กัน มักเป็นยาแก้อักเสบ ชนิดไม่มีสเตียรอยด์ ซึ่งหากใครต้องการใช้ยาทานแก้ปวด ก็ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้เพื่อความปลอดภัยอีกครั้ง



แม้เราอาจจะรู้สึกว่า อาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้เป็นปกติทั่วไป แต่บางครั้งอาการปวดเมื่อยนั้นเกิดขึ้นบ่อยๆ ก็อาจเป็นสัญญาณการบาดเจ็บหรือโรคบางอย่างได้ ดังนั้น หากมีอาการปวดเมื่อยเรื้อรัง รุนแรง รวมทั้งอาการปวดต่างๆ ไม่ดีขึ้น จนส่งผลต่อการใช้ชีวิตของคุณ หลังจากหาวิธีแก้ปวดเมื่อย หรือบรรเทาด้วยตนเองแล้วยังไม่ดีขึ้น และอาการปวดเมื่อยโดยไม่มีสาเหตุ หรือพบอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น ไม่มีแรง เคลื่อนไหวลำบาก บวมแดง เป็นไข้ ขอแนะนำให้ทุกคนรีบไปพบแพทย์เพื่อรักษาอย่างถูกต้องจะดีที่สุด

แชร์ :