“ไมโครเวฟ” เครื่องใช้ไฟฟ้าไอเทมคู่ครัว ชาวหอชาวคอนโดและชาวเมืองแทบจะทุกบ้าน ด้วยประโยชน์ในการจัดการอาหารแช่แข็ง และช่วยอุ่นร้อน เสกมื้ออาหารได้แทบทุกอย่าง ตั้งแต่ต้มมาม่า ยันอาหารคาว อาหารหวานและเบเกอรี่ แต่เจ้าเครื่องมือคู่ครัวเรานี้ ก็มีข้อจำกัดในการใช้ที่เพื่อนๆ หลายคนอาจไม่รู้มาก่อน หรือบางครั้งรู้ก็ตอนเกิดเหตุไม่คาดคิดไปแล้ว นั่นก็เพราะ ภาชนะหรือของใช้บางอย่าง ไม่ได้มีการออกแบบหรือผลิตมาเพื่อรับรังสีความร้อน อาจทำให้มีปฏิกิริยาจนการเผาไหม้หรือระเบิดได้เลย!! เอาล่ะ เพื่อไม่ให้เกิดเหตุผิดคิว ไม่คาดฝันและอันตรายต่างๆ ขึ้นกับชีวิตของเรา ทรูช้อปปิ้ง ได้ทำการเตรียม เช็กลิสต์ ของที่ห้ามเข้าไมโครเวฟ ภาชนะที่เข้าไมโครเวฟไม่ได้ มาดูกันว่ามีอะไรใส่ได้และไม่ครใส่เข้าไมโครเวฟบ้าง
เลือกซื้อสินค้า ของใช้เครื่องครัว คุณภาพพรีเมียม
ภาชนะ ของใช้ที่ห้ามเข้าไมโครเวฟ
กล่องโฟม
หรืออุปกรณ์ภาชนะที่ทำจากโฟม เป็น ของที่ห้ามเข้าไมโครเวฟ เด็ดขาด! เพราะโฟมเหล่านี้ มีสารประกอบที่สามารถหลอมเหลวและติดไฟได้อย่างรวดเร็ว จนอาจจะเกิดระเบิดเปรี้ยงปร้างขณะอุ่นในไมโครเวฟและทำให้เกิดอุบัติเหตุที่ไม่คาดฝันได้
กล่องพลาสติก
กล่องพลาสติกธรรมดาๆ ที่ไม่มีสัญลักษณ์ที่ระบุว่าสามารถเข้าไมโครเวฟได้ ก็ควรหลีกเลี่ยง เป็น ของที่ห้ามเข้าไมโครเวฟ ดังนั้น อย่าลืมตรวจดูให้ดีก่อนนำพลาสติกใดๆ ก็ตามใส่ไมโครเวฟ เพราะพลาสติกเหล่านี้ อาจหลอมละลาย และติดไฟจนเกิดประกายไฟ หรือระเบิดไหม้ไมโครเวฟเราได้
กระดาษ
อย่างที่หลายคนรู้กันดีว่า “กระดาษ” เป็นวัสดุที่ติดไฟง่ายมากกก แค่เอาแว่นขยายส่องจากแสงอาทิตย์ไม่กี่อึดใจก็ติดไฟลุกไหม้ได้แล้ว นับประสาอะไรกับการนำเข้าไปใส่ไมโครเวฟ ไม่ว่าจะเป็นกระดาษห่ออาหาร ถุงกระดาษ กระดาษชานอ้อย รวมไปถึงผลิตภัณฑ์รักษ์โลกต่างๆ ต่อให้กระดาษนั้นจะหนาหรือแข็งแค่ไหน ก็ไม่ควรเสี่ยง ถือเป็น ของที่ห้ามเข้าไมโครเวฟ เด็ดขาด!
ฟองน้ำ
“ฟองน้ำ” อีหประเภท ของที่ห้ามเข้าไมโครเวฟ ไม่ว่าจะเป็นฟองน้ำล้างจาน ฟองน้ำถูตัว หรือของใช้อื่นๆ ที่มีลักษณะเป็นฟองน้ำ แต่อาจมีบางคนเคยได้ยินมาว่า การนำฟองน้ำเข้าไปใส่ในไมโครเวฟ จะช่วยทำความสะอาดหรือกำจัดแบคทีเรียได้ ซึ่งนั่นก็ไม่ใช่เรื่องผิด แต่ก็มีข้อควรระวังอย่างมาก เพราะหากต้องการจะอบฟองน้ำเพื่อฆ่าเชื้อโรคจริง ๆ ควรชุบน้ำให้ชุ่ม ไม่ใช่ฟองน้ำที่แห้งสนิท และต้องเวฟด้วยความร้อนต่ำสุด เป็นเวลาเพียง 3 วินาทีเท่านั้น ห้ามเกินกว่านี้ เพราะจะทำให้เกิดประกายไฟและการลุกไหม้ในไหม้เหมือนกับของที่ห้ามเข้าไมโครเวฟ ประเภทอื่นๆ
โลหะ สแตนเลส
ของใช้หรือภาชนะที่ทำจากโลหะ ที่เราทุกคนคงคุ้นเคยกัอย่างดี ไม่ว่าจะเป็น หม้อ กระทะ ถ้วย ช้อน ส้อม หรือแม้แต่ภาชนะ ที่มีส่วนประกอบของโลหะ เช่น หูโลหะ ด้ามจับโลหะ และภาชนะโลหะเคลือบสี ของเหล่านี้ ห้ามนำเข้าไมโครเวฟเด็ดขาด เพราะพื้นผิวของโลหะ จะสะท้อนคลื่นไมโครเวฟ ทำให้ไมโครเวฟเสื่อมสภาพเร็ว และในกรณีร้ายแรงอาจเกิดไฟลุกไหม้ขึ้นได้
พลาสติกเมลามีน
เมลามีน เป็นพลาสติกชนิดหนึ่งที่นิยมนำมาทำภาชนะใส่อาหาร เพราะราคาถูก สามารถทนความร้านได้ ใช้งานได้นาน และมีลวดลายหรือรูปแบบสวยงาม แต่แม้จะทนทานและสามารถทนความร้อนจากอาหาร ได้ดีกว่าพลาสติกหลายๆ ชนิด แต่ภาชนะที่ผลิตจากเมลามีนนั้น เป็น ภาชนะที่เข้าไมโครเวฟไม่ได้ เพราะเมลามีนไม่สามารถทนความร้อนจากไมโครเวฟได้ และอาจมีสารฟอร์มัลดีไฮด์ ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งละลายมาปนเปื้อนกับอาหารอีกด้วย
ฟอยล์ห่ออาหาร
หรืออลูมิเนียมฟอยล์ แม้จะมีคุณสมบัติช่วยกักเก็บความร้อนในอาหารได้ดี นิยมใช้ห่ออาหารและทำอาหาร แต่เมื่อโดนความร้อนจากไมโครเวฟ จะทำให้เกิดประกายไฟและเกิดการลุกไหม้ได้ง่ายเช่นกัน ดังนั้น ฟอยล์ห่ออาหารคืออีกหนึ่งลิสต์ที่เป็น ของที่ห้ามเข้าไมโครเวฟ
ภาชนะที่ไม่มีฝาปิด
อย่าเผลอคิดว่าใช้ ภาชนะที่สามารถนำเข้าไมโครเวฟได้แล้ว จะเพียงพอให้การใช้ไมโครเวฟของเราปลอดภัย หากภาชนะที่ใช้ใส่อาหารนั้นไม่มีฝาปิด โดยเฉพาะอาหารมีน้ำ พริก หรือซอสต่างๆ เป็นส่วนผสม เพราะเมื่ออาหารเหล่านั้นร้อนจัด จะเกิดการเดือดและประทุตัว จนกระเด็นติดทั่วไมโครเวฟ หากไม่อยากตามล้างตามเช็ดทีหลัง ก็อย่าลืมปิดฝาภาชนะที่เอามาใส่อาหารให้ดีด้วยนะ
ภาชนะ ของใช้ที่เข้าไมโครเวฟได้
พลาสติกบางชนิด
เช่น พลาสติก C-PET พลาสติก PP ที่มีความทนทาน เหนียว ยืดหยุ่นได้ ทนแรงกระแทกได้ดี ทำให้มีคุณสมบัติเป็นพลาสติกที่สามารถนำเข้าไมโครเวฟได้ หรือกล่องพลาสติกที่มีสัญลักษณ์ Microwavable หรือ Microwave Safe ก็เป็น ของที่เข้าไมโครเวฟได้ เช่นกัน
ภาชนะแก้ว
ที่มีคุณภาพและสมบัติทนความร้อนสูง ภาชนะที่ทำจากแก้วทุกชนิด และแม้สามารถนำเข้าไปอุ่นในไมโครเวฟได้ แต่ก็ควรระวังภาชนะแก้วที่มีการตกแต่งลวดลาย การวาดสี หรือมีแหล่งที่มาไม่ได้คุณภาพ ไม่ได้มาตรฐาน
ภาชนะเซรามิก
ภาชนะเซรามิกหรือกระเบื้องเคลือบ สามารถใช้งานกับไมโครเวฟได้อย่างปลอดภัย แต่อย่าลืมระวังถ้วยชามบางชิ้นที่มีการวาดลวดลาย หรือมีการเคลือบสีตกแต่ง เพราะสีเหล่านี้สามารถสะท้อนคลื่นไมโครเวฟได้ ทำให้อุปกรณ์ภายในของไมโครเวฟเกิดความเสียหาย และหากผลิตมาไม่ได้มาตรฐานพอ เมื่อได้รับความร้อนสูงสีเหล่านี้ อาจละลายไปปนเปื้อนกับอาหาร และอาจทำให้ไมโครเวฟของเราเสื่อมสภาพ หรืออายุการใช้งานสั้นลงได้
บรรจุภัณฑ์กระดาษบางชนิด
ปัจจุบันกล่องกระดาษหรือถ้วยกระดาษหลายๆ แบรนด์ มีนวัตกรรมที่ทำให้สามารถทนทานความร้อนได้ ด้วยการเคลือบแว็กซ์หรือเคลือบพลาสติก จึงทำให้ภาชนะเหล่านั้นสามารถนำเข้าไมโครเวฟได้ แต่ต้องอย่าลืม หากจะนำเข้าไมโครเวฟ จะต้องให้ใช้ความร้อนต่ำเท่านั้น และอย่าลืมตรวจสอบหาสัญลักษณ์ Microwave Safe ก่อนที่จะนำไปเข้าไมโครเวฟด้วยเพื่อความมั่นใจ