วันอาสาฬหบูชา เป็นอีกหนึ่งวันหยุดราชการของไทย และป็นวันสำคัญที่ได้รับการยกย่องให้เป็น วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ซึ่งมีเหตุการณ์สำคัญในอดีต คือเป็นวันคล้ายวันที่ พระพุทธเจ้าได้แสดงพระปฐมเทศนาครั้งแรก ที่ชื่อว่า ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร ตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ หลังจากที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ได้ 2 เดือน ซึ่งในปีนี้ วันอาสาฬหบูชา 2566 จะตรงกับวันที่ 1 สิงหาคม 2566 และบทความฉบับนี้ เราจะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับ วันอาสาฬหบูชา ทั้งประวัติความสำคัญ เหตุการณ์ในอดีต รวมถึง กิจกรรมที่พุทธศาสนิกชนสามารถทำได้วันนี้อาสาฬหบูชา


เลือกดูสินค้า เครื่องดื่มรังนก เพื่อสุขภาพ


ประวัติ วันอาสาฬหบูชา และเหตุการณ์สำคัญ


วันอาสาฬหบูชา มาจาก “อาสาฬหบุรณมีบูชา” หมายถึงการบูชาพระในเดือน ๘ ตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ ตามปฏิทัน จันทรคติของไทย หรือก่อนวันเข้าพรรษา ๑ วัน ย้อนไป เมื่อ ๔๕ ปี ก่อนพุทธศักราช หลังจากที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้ เมื่อวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ต่อมาในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ หรือ วันอาสาฬหบูชา


เหตุการณ์สําคัญ ในครั้งนั้นเป็นวันที่ พระพุทธเจ้าได้แสดงปฐมเทศนาครั้งแรก คือ ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เมืองพาราณสี แคว้นกาสี ให้แก่ปัญจวคีย์ทั้ง 5 นั้นคือ โกณฑัญญะ, วัปปะ, ภัททิยะ, มหานามะ และอัสสชิ หลังจากแสดงธรรมในครั้งนั้นทำให้ พระอัญญา โกณฑัญญะ ได้เกิดดวงตาเห็นธรรม สำเร็จโสดาบันเป็นพระอริยะบุคคลาคนแรก จึงขอรับประทานเอหิภิกขุอุปสมบท เป็นภิกษุองค์แรกในพระศาสนา และทำให้เกิดพระอริยสงฆ์องค์อรกของโลกอีกด้วย


ดังนั้น ทำให้วันนี้เป็นวันที่มีพระรัตนตรัยครบทั้งสามองค์ ได้แก่ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ ทำให้ถูกเรียกอีกชื่อว่า เป็น วันพระธรรมจักร หมายถึง วันที่วงล้อแห่งพระธรรมของพระพุทธเจ้าได้หมุนเป็นครั้งแรก และยังเป็นวันพระสงฆ์ นั่นคือวันที่มีพระสงฆ์เกิดขึ้นเป็นครั้งแรก และจากเหตุการณ์ที่ผ่านมาทั้งหมด ทำให้วันอาสาฬหบูชา ความสําคัญ เพื่อเป็นวันแห่งการระลึกถึงเหตุการณ์สำคัญทางพระพุทธศาสนาที่เคยเกิดขึ้น ดังนี้


เป็นวันแรกที่เกิดการประกาศศาสนาพุทธ

เป็นวันที่พระพุทธเจ้าได้แสดงพระธรรมจักรเป็นครั้งแรก

เป็นวันที่เกิดพระอริยสงฆ์องค์แรก คือ พระอัญญาโกณฑัญญะ

เป็นวันที่มีพระรัตนตรัยครบทั้ง 3 องค์ประกอบ ได้แก่ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ 



หลักธรรมสำคัญในวันอาสาฬหบูชา 


วันอาสาฬหบูชา มีหลักธรรมทำสำคัญอยู่ 2 ประการ ก็คือ มัชฌิมาปฏิปทา หรือ ทางสายกลาง คือการปฏิบัติที่เป็นกลาง และถูกต้อง เหมาะสม ไม่สุดโต่งไปด้านใดด้านหนึ่ง ซึ่งพระพุทธเจ้าได้ยกตัวอย่างการดำเนินชีวิตที่สุดทั้ง 2 ทาง คือ



1. การทำให้ตัวเองลำบากโดยการทรมานกาย เช่น บำเพ็ญตบะ หรือการดำเนินชีวิตที่ก่อความทุกข์ให้ตนเอง ทั้งเหนื่อยกาย เหนื่อยใจ 


2. การมัว เมา ในรูป รส กลิ่น เสียง ดังนั้น เพื่อละเว้นการดำเนินชีวิตที่สุดโต่งเหล่านี้ พระองค์จึงแสดงหลักทางสายกลางในการดำเนินชีวิต ที่เรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทาหรือ มรรคมีองค์ 8 ได้แก่

สัมมาทิฏฐิ เห็นชอบ

สัมมาสังกัปปะ ดำริชอบ

สัมมาวาจา เจรจาชอบ

สัมมากัมมันตะ ทำการงานชอบ

สัมมาอาชีวะ เลี้ยงชีพชอบ

สัมมาวายามะ เพียรชอบ

สัมมาสติ ระลึกชอบ

สัมมาสมาธิ ตั้งใจชอบ


อริยสัจ 4 

คือความจริงอันประเสริฐ 4 ประการ ได้แก่ 

ทุกข์ หรือความไม่สบายกายไม่สบายใจ

สมุทัย หรือ เหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ 

นิโรธ หรือ หนทางการดับทุกข์

มรรค หรือ การทำให้เกิดการดับทุกข์


กิจกรรมในวันวันอาสาฬหบูชา


ปีนี้วันอาสาฬหบูชา ตรงกับวันที่ 31 กรกฎาคม 2566 เดิม ในอดีตวันอาสาฬหบูชา ไม่ได้มีพิธีการ กิจกรรมอะไรเป็นพิเศษ อาจเป็นเพราะเกิดขึ้นก่อนวันเข้าพรรษาเพียงวันเดียว ซึ่งพุทธศาสนิกชน ก็มักนิยมทำบุญ ตักบาตร ในวันพระ ตามปกติอยู่แล้ว


ต่อมาในปี พ.ศ. 2501 พระธรรมโกศาจารย์ (ชอบ อนุจารี) ซึ่งดำรงตำแหน่งสังฆมนตรีในขณะนั้น ก็ได้เสนอให้เพิ่มวันศาสนพิธีทำพุทธบูชาอีกวันหนึ่ง ก็คือ วันอาสาฬหบูชา หรือวันธรรมจักร ด้วยว่าเป็นวันสำคัญที่พระพุทธเจ้าได้แสดงธรรมครั้งแรก คือ ธัมมจักกัปปวัตรสูตร คณะสังฆมนตรีลงมติรับหลักการเพิ่มวันอาสาฬหบูชาเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย และกำหนดระเบียนบปฏิบัติในพิธีอาสาฬหบูชาไว้ให้ทุกวัดถือปฏิบัติโดยให้ถือเป็นหลักปฏิบัติในเวลาต่อมา



ซึ่งกิจกรรมของพระสงฆ์ คือ ก่อนวันอาสาฬหบูชา ๑ สัปดาห์ให้เจ้าอาวาสแจ้งแก่พระภิกษุ สามเณร ตลอดจนศิษย์วัด ช่วยกันปัดกวาด ปูลาดอาสนะ จัดตั้งเครื่องสักการะให้ประดับธงธรรมจักรรอบพระอุโบสถตลอดวัน ทั้งเช้าและบ่าย


สำหรับกิจกรรมในวันอาสาฬหบูชาที่พุทธศาสนิกชน สามารถเข้าร่วมได้ในวันอาสาฬหบูชานั้น ได้แก่ 


การฟังการแสดงพระธรรมเทศนา ธัมมจักกัปปวัตนสูตร อย่างที่พระพุทธองค์ได้เคยแสดงต่อ ปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 


การทำบุตรตักบาตรของชาวพุทธ การไปทำบุญที่วัด รวมถึงการรับศีล รับพร และงดทำบาป 


การถวายสังฆทานหรือให้ทาน 


การเวียนเทียนรอบอุโบสถ ในช่วงเย็น 


เป็นอย่างไรบ้างคะ สำหรับสาระความรู้เกี่ยวกับวันอาสาฬหบูชา ที่เรานำมาฝากเพื่อน ๆ ในวันนี้ สำหรับพุทธศาสนิกชนแล้ว วันนี้ถือเป็นวันสำคัญทางศาสนา ที่จัดขึ้นเพื่อระลึกถึงเหตุการณ์สำคัญในอดีต ซึ่งเราชาวพุทธก็สามารถประกอบพิธีทางศาสนาได้ตามความเหมาะสมของแต่ละคน ไม่ว่าจะเป็นการเข้าวัด ทำบุตร ตักบาตร ฟังธรรม หรือจะเป็นการร่วมเวียนเทียนรอบพระอุโบสถ ก็ได้เช่นกัน 

แชร์ :